news-details

เรามีชีวิตที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในอาชีพการงานในกว่างซี —— เรื่องราวกว่างซีของเพื่อนอาเซียน

ปี 2564 เป็นวาระครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียน นอกจากนี้ ยังเป็นปีที่ 18 ที่งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนและการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียน ได้จัดขึ้นในนครหนานหนิงเขตกว่างซี ตลอด 18 ปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างกว่างซีกับประเทศอาเซียนได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และการแลกเปลี่ยนฉันมิตรระหว่างประชาชนก็มากขึ้นเรื่อย ๆ ประชาชนจากประเทศอาเซียนและประชาชนประเทศจีนได้รู้จักกัน อยู่อย่างกลมกลืน จนรักใคร่กลมเกลียวกัน และก่อร่างสร้างตัว บรรลุความฝันในดินแดนกว่างซีแห่งนี้

 

ในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซี นักศึกษาจากประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม และประเทศอาเซียนอื่น ๆ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมจีนผ่านการตัดกระดาษและการประดิษฐ์ตัวอักษรจีน ยาง ฉองหลิน นักศึกษาต่างชาติจากประเทศไทยพูดว่า:

“หากประเทศใดต้องการร่วมมือกับอีกประเทศหนึ่ง ก็จำเป็นต้องรู้วัฒนธรรมของประเทศนั้น”

เถียน หย่าหนาน นักศึกษาต่างชาติจากประเทศไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซี

ด้วยการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียนลึกซึ้งยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง กว่างซีได้สร้างความร่วมมือกับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกือบ 200 แห่งในภูมิภาคอาเซียน และกลายเป็นหนึ่งในมณฑลที่ดึงดูดนักศึกษาอาเซียนจำนวนมากที่สุดในประเทศจีน เพื่อเรียนภาษาจีน เถียน หย่าหนาน นักศึกษาต่างชาติจากประเทศไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซีได้ไปฝึกงานเป็นพนักงานเสิร์ฟที่โรงแรม เขาได้เตรียมสมุดพกติดตัวเล่มหนึ่งเพื่อจดคำศัพท์ภาษาจีนที่ ๆ เถียน หย่าหนานพูดว่า:“ทำงานที่นี่ได้เจอลูกค้ามากมาย บางคนวางแผนไปเที่ยวเมืองไทย ก็มาถามผมว่ามีของกินอร่อยอะไรบ้างและมีสถานที่น่าเที่ยวอะไรบ้าง ผมคิดว่าทำงานที่นี้สามารถช่วยพัฒนาภาษาจีนของผมได้”

เถียน หย่าหนาน นักศึกษาต่างชาติจากประเทศไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซีได้ฝึกงานในร้านอาหารแห่งหนึ่งในนครหนานหนิง

เพื่อนอาเซียนหลายคนมาที่กว่างซีสีเพราะการศึกษาและความรัก หลังจากนั้นได้ตกหลุมรักจีนและกว่างซี ก็เลือกที่จะอยู่ที่นี่ต่อไป

 

หวง ซื่อฮุ่ยเป็นสาวเวียดนามแท้ๆ ความรู้เกี่ยวกับจีนแรก ๆ ของเธอมาจากละครโทรทัศน์จีนที่เธอดูในวัยเด็ก จาก "ไซอิ๋ว" ในยุค 80 จนถึง "ความฝันในหอแดง" "สามก๊ก" "คะนึงหา" ในหลัง ๆ ละครโทรทัศน์เหล่านี้ทำให้หวง ซื่อฮุ่ยเริ่มสนใจประเทศจีน

หวง ซื่อฮุ่ย

ในปี 2550 ขณะที่หวง ซื่อฮุ่ยเรียนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนามฮานอย ได้รู้จักกับชายชาวจีนจากมณฑลซานซีประเทศจีนที่ชื่อหยาน อ้ายเหวิน หลังจากคบกันสองปี สองคนที่รักกันได้แต่งงานกันที่เวียดนาม ในปี 2554 หยาน อ้ายเหวินตัดสินใจกลับไปประเทศจีน หวง ซื่อฮุ่ยไม่ได้พูดอะไรมาก ก็พาลูกสาวที่เพิ่งเกิดใหม่ไปประเทศจีนพร้อมกับสามี และเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมชนกลุ่มน้อยที่มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี

 

กว่างซีมีพรมแดนติดกับเวียดนาม นครหนานหนิงในฐานะสถานที่จัดงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับเวียดนามบ่อยมาก คู่สามีภรรยาหวังจะมีส่วนร่วมในด้านการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ หวง ซื่อฮุ่ยและสามี หยาน อ้ายเหวินจึงได้เปิดบริษัทแปลภาษาที่นครหนานหนิง ทำงานด้านการแปลภาษาระหว่างจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และธุรกิจหลักคือการแปลเอกสารโครงการโครงสร้างพื้นฐาน หนังสือ งานภาพยนตร์และโทรทัศน์ เว็บไซต์ ฯลฯ

 

ในปี 2555 หวง ซื่อฮุ่ยและหยาน อ้ายเหวินได้เริ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซและเปิดร้านรับงานแปลบน Taobao ในปี 2555 ยอดขายประจำปีของร้าน Taobao สูงถึง 5 ล้านหยวน หลังจากได้รับผลกำไรผ่านทางอีคอมเมิร์ซเป็นครั้งแรกแล้ว นอกจากเปิดบริษัทแปลภาษาแล้ว สองคนยังได้เปิดร้าน Tmall ที่ขายผลไม้และอาหารสดจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามร้านในเวลาเดียวกัน และช่วยบริหารจัดการร้าน Taobao และ Tmall ให้กับบริษัทที่มีความต้องการด้วย หยาน อ้ายเเหวินพูดว่า:“ผมโชคดีมากที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในยุคแบบนี้ ซึ่งให้อะไรหลายๆ อย่างแก่เรา”

 

ด้วยการพัฒนาก้าวหน้าของโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" บทบาทของการแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้น บริษัทแปลภาษาของหยาน อ้ายเเหวินและหวง ซื่อฮุ่ยมีความมุ่งมั่นอย่างแข็งขันในการทำงานแปลภาษาเวียดนามและภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2559 พวกเขาเริ่มแปลหนังสือเกี่ยวข้องกับ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เช่น "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เวียดนาม" "ค่านิยมหลักของอารยธรรมจีน" และ "ความเชื่อมั่นทางวัฒนธรรมและการฟื้นฟูชาติ" เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับสำนักพิมพ์การศึกษากว่างซี เรียบเรียงหนังสือที่ชื่อ "พจนานุกรมจีน-เวียดนามเล่มใหม่"

 

ผ่านไปสิบปี หยาน อ้ายเเหวินและหวง ซื่อฮุ่ยได้ตั้งรกรากอยู่ในนครหนานหนิง และได้ใช้ชีวิตอยู่นครหนานหนิงอย่างลงตัว ที่นี่ไม่เพียงแต่เป็นบ้านที่มีความสุขของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สานต่อความฝันและการต่อสู้อีกด้วย หวง ซื่อฮุ่ยพูดว่า: "ฉันรู้สึกว่าการใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มีความสุขมากกว่าที่อื่น"

หวง ซื่อฮุ่ย

มีเพื่อนอาเซียนหลายคนที่เลือกใช้ชีวิตอยู่นครหนานหนิงเหมือนกับหวง ซื่อฮุ่ย คนไทยที่ชื่อจิน หย่าหลี้เพิ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในราชอาณาจักรประเทศจีนในปีนี้ สามีของเธอคืออาจารย์สำนักงานแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซี ชื่อจาง หยุนจื้อ

 

เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว จาง หยุนจื้อได้รู้จักกับจิน หย่าหลี้ขณะเรียนที่ประเทศไทย หลังจากเรียนจบที่ประเทศไทย จาง หยุนจื้อกลับไปที่นครหนานหนิงเขตกว่างซี และได้เชิญจิน หย่าหลี้ไปเที่ยวนครหนานหนิง การเดินทางไปจีนครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองคนลึกซึ้งยิ่งขึ้น แต่ยังทำให้พวกเขาเริ่มคิดถึงชีวิตในอนาคต ไม่นาน จิน หย่าหลี้ได้เลือกทำงานอยู่ที่นครหนานหนิงและแต่งงานกับจาง หยุนจื้อ และตั้งรกรากที่ประเทศจีน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ในช่วงสิบปีที่จิน หย่าหลี้แต่งงานกับจาง หยุนจื้อ งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนได้จัดขึ้นตามกำหนดการทุกปี ด้วยงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนมีอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กว่างซีโดยเฉพาะอย่างยิ่งนครหนานหนิงมีการแลกเปลี่ยนกับประเทศอาเซียนใกล้ชิดมากขึ้น สิ่งที่ทำให้ครอบครัวจาง หยุนจื้อรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงข้อนี้ ก็คือคู่สมรสข้ามชาติระหว่างประเทศจีนและประเทศภูมิภาคอาเซียนมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จิน หย่าหลี้พูดว่า:“ตอนที่ฉันเพิ่งแต่งงานที่ประเทศจีนใหม่ ๆ มีเพื่อนคนไทยน้อยมาก แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้มีลูกสะใภ้คนไทยอย่างฉันมากขึ้นเรื่อย ๆ ”

จิน หย่าหลี้และสามีจาง หยุนจื้อ

จำนวนคู่สมรสข้ามชาติที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี เป็นประจักษ์พยานถึงมิตรภาพระหว่างประชาชนของประเทศจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน ตอนนี้จิน หย่าหลี้เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติที่มหาวิทยาลัยกว่างซี และในใจของเธอมีอนาคตที่กว้างไกล จิน หย่าหลี้พูดว่า: “หลังจากที่ฉันเรียนจบ อยากทำสิ่งที่จะช่วยในด้านแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย เพื่อมีส่วนร่วมในด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ”

 

ในนครหนานหนิง มีเพื่อนอาเซียนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ใช้ชีวิตอยู่เมืองที่เปิดกว้างและมีความหลากหลายแห่งนี้อย่างลงตัว และได้ลงหลักปักฐานที่นี่และไล่ตามความฝันของพวกเขา

 

สมชาย เชฟของร้านอาหาร "ต้มยำกุ้ง" ในนครหนานหนิงมาจากประเทศไทย ในฐานะลูกเขยกว่างซี เขาสามารถพูดภาษาจีนได้อย่างคล่อง แม้แต่ภาษาท้องถิ่นของนครหนานหนิงก็สามารถพูดได้หลายประโยค อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ส่งเสริมวัฒนธรรมอาหารไทย เขายังได้สัมผัสวัฒนธรรมอาหารที่มีสีสันและหลากหลายของจีน สมชัยชอบกินก๋วยเตี๋ยวซุปหอยทากแม่น้ำ และก๋วยเตี๋ยวผงกะหรี่ ได้ดำเนินการตามหลัก "อาหารอร่อยไร้พรมแดน" ด้วยทั้งแรงกายจิตใจ จากมุมมองของสมชาย การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดในการแลกเปลี่ยนระหว่างกว่างซีกับอาเซียนก็สะท้อนให้เห็นจากอาหารเช่นกัน ในปี 2555 เมื่อสมชายเพิ่งมาถึงประเทศจีน นครหนานหนิงมีร้านอาหารไทยเพียง 2 ร้าน แต่ตอนนี้มีร้านอาหารไทยมากกว่า 60 ร้านในนครหนานหนิง คนหนานหนิงยอมรับและชอบอาหารไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ

สมชาย เชฟคนไทย

ในคาบสมุทรหลิวซานครหนานหนิงมีร้านเหล้าร้านหนึ่ง เจ้าของร้านเป็นนักธุรกิจจากมาเลเซียชื่อโทนี่ ภรรยาของโทนี่คือคนหนานหนิง หลังจากเขามาที่นครหนานหนิงพร้อมกับภรรยา ก็เริ่มเปิดกิจการของตัวเองในนครหนานหนิง หลังจากธุรกิจไปได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ โทนี่ก็ได้ค่อย ๆ เข้ากับการพัฒนาของหนานหนิงอย่างลงตัว โทนี่พูดว่า: “ภายใต้การขับเคลื่อนของงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ในเวลาเพียงสามสี่ปีนี้ ผมได้เห็นรถไฟความเร็วสูงครอบคลุมเมืองใหญ่ในกว่างซี นครหนานหนิงได้สร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินแห่งใหม่ขึ้น รถไฟใต้ดินหลายสายได้เปิดให้บริการ และด้านโลจิสติกส์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้ทำให้ผมรู้สึกประหลาดใจมาก ในปีนี้ ผมมีเพื่อนจากมาเลเซียสองคนมาเข้าร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนในฐานะผู้ประกอบการ นี่แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนนั้นใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จริง ๆ ”

โทนี่ นักธุรกิจมาเลเซีย

นครหนานหนิงเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนถาวร ได้ดึงดูดนักธุรกิจจากประเทศอาเซียนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้มาที่เมืองสีเขียวแห่งนี้แสวงหาโอกาสทางธุรกิจ พวกเขาตั้งรกรากที่นี่เหมือนกับโทนี่ และชอบนครหนานหนิงมาก

 

นักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสิงคโปร์พูดว่า:“นครหนานหนิงเปลี่ยนไปมาก มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี”

 

รองประธานหอการค้าไทย-จีนพูดว่า: “เมื่อมาที่นครหนานหนิงครั้งแรก ป้ายถนนภาษาอังกฤษมีน้อยมาก ไม่สะดวกมากสำหรับนักธุรกิจต่างชาติอย่างเรา ตอนนี้มีป้ายถนนหลายภาษาตามถนนและตรอกนครหนานหนิง ด้านการสื่อสาร ธนาคาร และการคมนาคมสะดวกมากสำหรับเรา สภาพแวดล้อมการลงทุนได้ปรับปรุงดีขึ้นมาก”

 

ประธานบริษัทธัญพืชและน้ำมันจีน-มาเลเซียพูดว่า:“ผมเป็นลูกเขยนครหนานหนิง งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนเป็นเหตุการเยือนนครหนานหนิงครั้งแรกของผม ผมเคยไปหลายเมืองในหลายประเทศ ความเร็วการพัฒนาอย่างนครหนานหนิงนั้นมีน้อยมาก”

 

ในกว่างซี ประชาชนประเทศจีนและประชาชนประเทศอาเซียนได้สร้างความสัมพันธ์ผ่านงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน จนมีใจตรงกัน คบหาด้วยความจริงใจ เพื่อมีชีวิตที่ใฝ่หา ทุกคนพยายามไปด้วยกัน สู้ไปด้วยกัน มิตรภาพที่ก่อตั้งโดยแบบนี้จงมั่นคงและยั่งยืนสถาพรตลอดไปชั่วกาลนาน

You can share this post!

กูร์เมต์ มาร์เก็ต และ กูร์เมต์ อีทส์ จัดงาน “VEGETARIAN FOOD FESTIVAL 2021” เปิดกรุตำนานอาหารเจ พร้อมคัดสรรวัตถุดิบเจ จากตลาดและร้านดัง

“บัว&โม” ยกก๊วน “ฮับซับ” เข้าวัดทำบุญ “หมาก” ชวนทอดกฐินสามัคคี ต.ค.นี้